ดัชนีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MA) คือ ดัชนีเทรนด์ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคซึ่งเป็นดัชนีพื้นฐานในการใช้งานกลยุทธ์ต่างๆ โดยดัชนีนี้เป็นเส้นบนกราฟที่แสดงค่าเฉลี่ยของสินทรัพย์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
ช่วงระยะเวลาเป็นตัวแปรหลักของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ โดยระยะเวลาเป็นตัวกำหนดตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณ
ประเภทของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และตัวเลขของช่วงระยะเวลาจะใช้งานเพื่อเฉลี่ยราคาให้เรียบ (โดยเรียกว่าช่วงเวลาที่สร้างขึ้น หน้าต่าง และความยาวในการเคลื่อนที่) ซึ่งนักเทรดเป็นผู้กำหนดตามดุลพินิจของตนเองและขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ในการเทรด
การสร้างและการวิเคราะห์
โดยในการสร้างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และใช้งานในการวิเคราะห์ใดๆ คุณสามารถใช้งานราคาหุ้นใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น ราคาเปิดตัว ราคาปิดตัว ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด ราคาเฉลี่ย หรือราคาเฉลี่ยตามน้ำหนัก เป็นต้น แต่นักเทรดส่วนใหญ่จะใช้งานราคาปิดตัวเป็นหลัก
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หรือ MA มีหลายประเภทด้วยกัน เราจะเน้นสองประเภทหลักซึ่งมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุดบนแพล็ตฟอร์ม Olymp Trade ดังนี้
1. SMA ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่พื้นฐาน
2. EMA ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ชี้กำลัง
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้งหมดที่ปรากฏในรูปภาพคือการกำหนดระยะเวลาเป็น 10 (กำหนดตัวเลขระยะเวลาตามการตั้งค่าโดยมาตรฐาน)
6 Nisan’da yayımlayacağımız “Hareketli Ortalama” indikatörünün profesyonel kullanımı hakkındaki yazımızı kaçırmayın.
ดัชนี SMA และ EMA มีความแตกต่างกันในการคำนวณ (สูตรการคำนวณ) ราคาเฉลี่ย ดังนั้น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จึงปรากฏออกมาแตกต่างกันแม้ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
วิธีการใช้งาน
1. เพื่อเป็นการหาทิศทางของเทรนด์ หากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ปรับตัวสูงขึ้น นักเทรดควรจะเลือกซื้อ และหากเส้นดังกล่าวขยับลงมา ในกรณีนี้ควรหาตำแหน่งเข้าและออกตลาดด้วยการใช้กลยุทธ์อื่นๆ ประกอบไปด้วย เช่น “ค่าเฉลี่ยแบบสไลด์” (บนพื้นฐานของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่รวดเร็วกว่า)
2. การกลับตัวขึ้นของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่โดยมีเส้นลาดเอียงในทิศทางบวกบนกราฟราคาถือว่าเป็นสัญญาณการเริ่มต้นของเทรนด์ขาขึ้น หากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่วกกลับตัวลงมาโดยมีเส้นลาดเอียงในทิศทางลบบนกราฟราคาก็จะถือว่าเป็นสัญญาณการเริ่มต้นของเทรนด์ขาลง
3. ระยะเวลาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเลขตัวกลม (50, 100, 200) สามารถนับว่าเป็นระดับค่าแนวรับและแนวต้านได้
4. ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในระยะเวลานั้นๆ ขยับในทิศทางขึ้นหรือลง นักเทรดสามารถระบุทิศทางขึ้นและลงในช่วงระยะเวลา ดังนี้ ระยะสั้น (สูงถึง 50) ระยะกลาง (ตั้งแต่ 50 ถึง 100) และระยะยาว (100 ขึ้นไป)
5. ช่วงเวลาที่มีค่าความต่างมากที่สุดระหว่างค่าเฉลี่ยทั้งสองในการตั้งค่าต่างๆ (ช้าและเร็ว) ถือว่าเป็นสัญญาณที่อาจมีการวกกลับตัวของเทรนด์
ข้อเสีย
เมื่อเราใช้งานดัชนีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในการเทรดตามเทรนด์จะประสบกับความล่าช้า ณ จุดเข้าตำแหน่งอยู่เสมอ ดังนั้น การเคลื่อนที่ของเทรนด์บางส่วนอาจขาดหายไปได้
การใช้งานค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในขณะที่ตลาดอยู่ในภาวะคงที่มักให้สัญญาณเท็จเป็นจำนวนมากและนำไปสู่สภาวะขาดทุน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง