เรากล่าวได้ไหมว่าวิกฤติอยู่ ๆ ก็เริ่มขึ้นมาอย่างฉับพลัน? ไม่ใช่เลย ภาวะถดถอยเริ่มเป็นที่กล่าวถึงเพราะเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วมาอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีช่วงเศรษฐกิจถดถอยมาเป็นเวลานาน
วิกฤติที่กำลังมาถึงในขณะนี้มีความเกี่ยวข้องกับการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นของธนาคารเฟดสหรัฐฯ หรือสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ แต่ปัจจัยความเสี่ยงก่อนหน้านี้ยังมีไม่มากนัก
เมื่อปี 2018 โดนัลด์ ทรัมป์ ประสบความสำเร็จในการบังคับธนาคารเฟดให้เปลี่ยนแผนและล้มเลิกความคิดในการใช้นโยบายการเงินแบบรัดเข็มขัด ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างปักกิ่งและวอชิงตันยุติอย่างสงบโดยทันที
ภัยคุกคามใหม่ปรากฏขึ้นมาอย่างชั่วข้ามคืน และหากเราพิจารณาทฤษฎีสมคบคิดที่ตั้งสมมติฐานว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 จริง ๆ แล้วนั้นเป็นไวรัสที่สร้างขึ้นมาและมีการวางแผนในการแพร่ระบาดเป็นอย่างดี เหตุการณ์นี้จึงเหมือนเป็นการเปิดแผลที่ยังไม่หายดีนักในระบบการเงินโลก
ไม่มีใครรู้หรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต มีการคาดการณ์สถานการณ์ในหลายรูปแบบ ในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ หน้าที่ของเราคือการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและทำการตัดสินใจในการลงทุนจากข้อเท็จจริงและความเห็นที่สมเหตุเป็นผล
หากคุณต้องการเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจและทำไมทุกคนถึงอยู่ ๆ ก็เริ่มพูดถึงวิกฤติทางการเงิน บทความนี้จะช่วยไขความให้กระจ่าง เราอธิบายลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
COVID-19 สามสถานการณ์และความหวังปลายอุโมงค์
แทบไม่มีใครคิดว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา COVID-19 จะนำไปสู่การปิดประเทศรอบโลก การกักตัว และถลุง “เงินคลัง” ในหลายประเทศ โลกของเรามีประสบการณ์การต่อสู้กับโรคระบาดมาแล้วหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ซาร์ส และโรคภัยอันตรายอื่น ๆ ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้นท่าทีตอบสนองต่อ COVID-19 จึงค่อนข้างล่าช้า
อย่างไรก็ตาม การค่อย ๆ ตระหนักถึงอันตรายและการเริ่มใช้มาตรการกักกันโรคเป็นหนึ่งในห่วงโซ่ของโดมิโน่กระบวนการที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และตราบใดที่เรายังไม่สามารถประกาศชัยชนะเหนือโรคระบาดได้อย่างเป็นทางการ เราจึงยังไม่ควรคาดหวังในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นทันที
โดยทั่วไป สถานการณ์อาจพัฒนาในทิศทางใดทิศทางหนึ่งดังต่อไปนี้:
- อัตราการเสียชีวิตค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ จนถึงระดับต่ำสุด ในขณะเดียวกันมาตรการกักกันโรคจะเริ่มผ่อนคลายลง ในกรณีนี้ การฟื้นฟูเศรษฐกิจอาจใช้เวลาหลายปี
- ในกรณีที่มีการสร้างวัคซีนที่ใช้ได้ผล ก่อนจะถึงเวลานั้น หลายประเทศจะใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลเพื่อยับยั้งผลกระทบจากการแพร่ระบาด และเมื่อมีการให้บริการวัคซีน เศรษฐกิจจะเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็ว
- การแพร่ระบาดอาจยุติลงแต่จะเกิดเป็น COVID-19 ชนิดใหม่หรือการแพร่ระบาดกลายพันธุ์
ข้อเท็จจริงก็คืออีกไม่ช้าก็เร็ว การแพร่ระบาดนี้จะสิ้นสุดลงและสิ่งนี้ให้ความหวังกับเรา ประมาณร้อยปีก่อนหน้านี้ โลกของเราเคยประสบกับการแพร่ระบาดของไข้หวัดสเปน ซึ่งพรากชีวิตผู้คนกว่า 25 – 100 ล้านชีวิต ซึ่งประมาณ 30% ของประชากรทั่วโรคติดเชื้อไข้หวัดสเปน แพทย์หลายคนกล่าวว่าไวรัสโคโรนาในปัจจุบันนี้อันตรายน้อยกว่ามาก
สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง
Kristalina Georgieva ผู้อำนวยการบริหารไอเอ็มเอฟกล่าวแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 ว่า “เรากำลังจะได้เห็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งที่รุนแรงมากที่สุดตั้งแต่ Great Depression“
รัฐบาล ธนาคารกลาง และธนาคารพาณิชน์หลายแห่งกำลังพยายามที่จะคำนวณอัตราการถดถอยทางเศรษฐกิจที่พวกเขาจะต้องประสบในปีนี้ จากการคาดการณ์เบื้องต้น GDP สหรัฐฯ อาจลดลงถึงหนึ่งในสามในไตรมาสนี้
นักวิเคราะห์จาก Credit Suisse ธนาคารสวิสเขียนรายงานดังนี้ “เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะหดตัว 33.5% หมายความว่าช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน คือการปูทางไปสู่ไตรมาสที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ปี 1945″
ผู้เชี่ยวชาญจาก Bank of America คือเสียงส่วนหนึ่งที่กล้าประกาศว่าสหรัฐฯ ตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย และทำนายตัวเลข GDP ลดลงที่ 12%
หากเราเปรียบเทียบสถานการณ์ปัจจุบันกับวิกฤติทางการเงินในปี 2008 เราสามารถสรุปได้ว่าวิกฤติในปัจจุบันจะยากลำบากกว่ามาก เมื่อเทียบดูแล้ว: ในไตรมาสที่สี่ของปี 2008 ค่า GDP ลดลงจำกัดที่ 6.3% ในขณะเดียวกัน ดัชนี S&P 500 ปรับลดลงในช่วงเวลาดังกล่าวประมาณ 30%
หรือกล่าวอีกทางหนึ่ง ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลง 35% ก่อนที่จะตามมาด้วยการรีบาวด์นั้นเป็นเพียงสัญญาณแรก อาจเป็นเพราะเหตุผลนี้เอง ทองคำจึงเป็นที่ต้องการสูงมาตั้งแต่ต้นปี โดยราคาทองคำทำสถิติสูงสุดในรอบเจ็ดปี
แต่ที่แย่ที่สุดนั้นเป็นทางฝั่งเศรษฐกิจของประเทศที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการส่งออกน้ำมัน
น้ำมัน: นโยบายของรัสเซียและการตอบโต้ของซาอุดิอาระเบีย
ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันได้ดำเนินการต่าง ๆ เพื่อบริหารจัดการอุปทานและอุปสงค์ของน้ำมันเมื่อปี 2016 จนประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่สรุปข้อตกลงร่วมกันเกิดเป็นข้อตกลง OPEC+ เพื่อลดปริมาณการผลิตในช่วงระยะเวลาที่จำกัด
อย่างไรก็ตาม หลังจากการยืดระยะเวลาสัญญาหลายครั้ง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของภาคีข้อตกลงเริ่มลดน้อยลง ตลาดไม่ได้ให้ความสนใจกับคำแถลงของประเทศผู้ส่งออกขนาดเล็ก เช่น เอกวาดอร์ แต่การปฏิเสธของรัสเซียในการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันเพิ่มเติมกลับหมายถึงการสิ้นสุดลงของข้อตกลง OPEC+
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ภาคีข้อตกลงล้มเหลวที่จะเห็นชอบในการปรับลดการผลิตอีกครั้ง รัสเซีย คาซัคสถาน และอาเซอร์ไบจาน ปฏิเสธการสนับสนุนให้ปรับลดโควตาการผลิต ในขณะที่ซาอุดิอาระเบียตอบโต้ด้วยเล่ห์เหลี่ยมเดิม ๆ ที่เคยใช้เมื่อปี 80s โดยการลดราคาน้ำมันและประกาศเพิ่มอัตราการผลิต เมื่อวันที่ 1 เมษายน ราคาน้ำมันทรุดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง: Brent ลดจาก $50 เหลือ $23 ต่อบาร์เรล WTI ลดลงจาก $46 เหลือ $20
นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เข้าแทรกแซงในสงครามน้ำมันโดยการจัดให้เจ้าหน้าที่สูงสุดของรัสเซียและซาอุดิอาระเบียกลับมาเจรจากัน นอกจากนี้ หน่วยงานพิเศษของสหรัฐฯ ยังเปิดโอกาสให้สหรัฐฯ สามารถคว่ำบาตรรัสเซียและซาอุฯ ได้ หากทั้งสองประเทศนี้ไม่สามารถประนีประนอมร่วมกันได้สำเร็จ
แต่ในขณะที่ฝั่งผู้แทนน้ำมันกำลังเจรจาหารือกันนั้น ทั้งโลกไม่ปฏิเสธความรุนแรงของการแพร่ระบาด COVID-19 อีกต่อไปและเริ่มพูดถึงการใช้มาตรการสุดโต่ง ภาวะชะลอตัวในกิจกรรมทางธุรกิจ ยอดขายที่ตกต่ำ และการส่งออกและนำเข้าที่หยุดชะงักลงนำไปสู่การอุปโภคน้ำมันที่ลดลง แต่การผลิตยังคงดำเนินต่อไป
ตลาดจำเป็นต้อง “นองเลือด”
นักลงทุนเริ่มสงบลงสักพักหนึ่งหลังจากฝ่ายภาคี OPEC+ เห็นชอบให้สั่งลดปริมาณการผลิตเกือบ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันที่ล้นตลาดนำไปสู่คลื่นการเทขายน้ำมันครั้งใหม่
พบว่ามีน้ำมัน 13 ล้านบาร์เรลล้นคลังในแต่ละสัปดาห์ ดังนั้นนักเทรดจึงเริ่มพูดถึงเร่งระบายน้ำมันที่กักเก็บอย่างเร็วที่สุด
ตลาดต้องปล่อยน้ำมันออกสู่ตลาดโดยด่วน เพราะความตึงเครียดสูงมาก นำไปสู่ปรากฎการณ์การทรุดตัวลงของฟิวเจอร์สน้ำมันดิบ WTI ราคาสัญญาสำหรับการส่งมอบเดือนพฤษภาคมไม่เพียงแต่ถูกลง แต่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ราคาน้ำมันปิดตลาดในโซนติดลบและขยับถึง -$40 ต่อบาร์เรล!
แน่นอนว่าคุณสมบัติของประเภทสินทรัพย์ชนิดนี้มีส่วนสำคัญเช่นกัน ฟิวเจอร์สมีระยะเวลาในการหมุนเวียนที่จำกัด และนักเทรดเริ่มขายสัญญาณเหล่านี้ทิ้งก่อนระยะเวลาสัญญาจะหมดอายุ (ไม่มีใครต้องการรับการส่งมอบน้ำมันจริง ๆ)
แต่หากเราไม่ลงลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับความซับซ้อนของสัญญาแลกเปลี่ยน เราสามารถสรุปได้ว่า ราคาน้ำมันในขณะนี้ไม่ได้อยู่ที่ $100 หรือ $50 อีกต่อไป ซึ่งเห็นได้ชัดจากปริมาณน้ำมันดิบที่ล้นตลาดเกินขีดความสามารถในการกักเก็บ อุปสงค์ที่ลดลง และภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย
ราคาน้ำมันต่ำจะส่งผลกระทบที่สำคัญต่อประเทศที่งบประมาณมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรายได้จากการส่งออกน้ำมัน เช่น ประเทศในตะวันออกกลาง เม็กซิโก นอร์เวย์ และรัสเซีย
โดยปกติ ประเทศเหล่านี้สามารถรอดพ้นจากสถานการณ์เช่นนี้ได้อย่างง่ายดายด้วยปริมาณเงินสำรองที่สะสมไว้สูง แต่วิกฤติเศรษฐกิจจาก COVID-19 มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาก
อุตสาหกรรมน้ำมันจะส่งสัญญาณบวกอีกหรือไม่?
เราได้รับความเห็นในประเด็นนี้จากผู้เชี่ยวชาญอิสระจากภาคพลังงานกล่าวว่า:
“หากซาอุดิอาระเบีย สหรัฐฯ และรัสเซีย ไม่ดำเนินการตามข้อตกลงในการลดปริมาณการผลิตอย่างรวดเร็ว ราคาน้ำมันจะทรุดตัวลงอีกครั้งในสภาพแวดล้อมของความต้องการ ณ ปัจจุบัน
วิธีการเดียวที่จะไม่ก่อให้เกิดหายนะเพื่อปรับราคาน้ำมันให้เพิ่มขึ้นคือการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในจีนและสหรัฐฯ ในกรณีนี้ หากการอุปโภคบริโภคเริ่มสูงกว่าการผลิต เราจะได้เห็นราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ อย่างไรก็ตาม จากสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน สิ่งนี้น่าจะเกิดขึ้นได้ยาก
ในอดีต ตลาดมักถูก “กอบกู้” จากสภาวะน้ำมันล้นตลาดโดยการปะทุของความขัดแย้งระหว่างประเทศผู้ส่งออกน้ำมันกับประเทศต่าง ๆ เช่น ความขัดแย้งในลิเบีย อิรัก และเวเนซุเอลา ตลอดช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาส่งผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น
นักเทรดที่ดีจะคอยจับตาดูภูมิภาคที่มีการผลิตน้ำมันว่าอยู่ ๆ มี “ปฏิบัติการทางทหาร” เกิดขึ้นหรือไม่ เนื่องจากข่าวความขัดแย้งและปริมาณที่ลดลงจากภูมิภาคเหล่านี้จะเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมัน
หากไม่มีความขัดแย้งที่สำคัญหรือการปรับลดปริมาณการผลิตครั้งใหญ่ ราคาน้ำมันจะปรับลดลงหรือจะปรับสมดุลอยู่ที่ระดับต่ำภายในปีนี้ เฉพาะช่วงใกล้ปี 2021 เท่านั้นที่เศรษฐกิจโลกพอจะมีโอกาสกลับมาเติบโตอีกครั้งหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 (ในกรณีที่การแพร่ระบาดสิ้นสุดลงแล้วในช่วงดังกล่าว)”
ผู้ผลิตรายใหญ่คาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ข้อกำหนดใหม่ของข้อตกลง OPEC+ ในเดือนพฤษภาคม โดยมีมาตรการเพิ่มเติมในการปรับลดปริมาณ เช่น ประธานาธิบดีเม็กซิกันให้สัญญาว่าจะพิจารณาสั่งปิดบ่อใหม่ทั้งหมด
อีกหนึ่งทางออกที่เป็นไปได้คือการปรากฏขึ้นของพันธมิตรน้ำมันใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และซาอุดิอาระเบีย ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันว่าเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการในเรื่องนี้ แต่สำหรับตอนนี้ ความสำคัญหลักของวอชิงตันคือการรับมือกับโรคระบาดและยกเลิกมาตรการกักตัวส่วนหนึ่งเป็นอย่างน้อย
วันสิ้นโลกทางการเงิน: ใช่หรือไม่?
อย่างที่กล่าวข้างต้น นักลงทุนเริ่มสัมผัสถึงสัญญาณการปรับตัวของเศรษฐกิจโลกมาแล้วเป็นเวลานาน ราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์หลบภัยเริ่มปรับราคาสูงขึ้นตั้งแต่ฤดูร้อนปี 2019 และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 20%
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยว่าวันสิ้นโลกทางการเงินจะมาถึงในเร็ว ๆ นี้ เราได้พูดคุยกับนักเทรดที่จะตัดสินใจเทรดขาย CFD ทองคำโดยใช้อัตราคูณ
การวิเคราะห์ของเขาเป็นไปตามทฤษฎี Elliot Wave กล่าวสั้น ๆ ก็คือเมื่อใช้วิธีการนี้ในการวิเคราะห์ นักเทรดจะมองเห็นกราฟเป็นคลื่นหลายระลอก จากนั้นจะมีการแยกประเภทของคลื่น และหาคำตอบต่อคำถามหลักว่า “ราคาจะขยับไปในทิศทางไหน?”
ข้อดีของวิธีการวิเคราะห์นี้คือการเป็นอิสระจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอย่างสมบูรณ์ ตามทฤษฎี=ชี้ว่าเทรนด์มีโครงสร้างที่คล้ายกันกับคลื่น และองค์ประกอบทั้งหมดนั้นเคยเกิดขึ้นมาหมดแล้ว และเนื่องจากปัจจัยจากข่าวสารนั้นมีมากเกินไป เราจึงอยากรับฟังความคิดเห็นจากนักเทรดที่เทรดโดยไม่ติดตามข่าว
จากการสัมภาษณ์ทางจดหมาย:
“ทองคำตอบสนองต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในโลกอย่างคึกคัก คลื่น (B) ของระดับสูงนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว บางทีอาจจะมีแนวโน้มราคาลดต่ำลงครั้งใหญ่ที่ $900 ต่อออนซ์เป็นส่วนหนึ่งของคลื่น C”
การแข่งขันเพื่อเอาตัวรอดและการจัดสรรเงินกว่าล้านล้านเหรียญ
เช่นเดียวกับทุกวิกฤติ ความโกลาหล ณ ปัจจุบันจะเป็นภัยอันตรายอันใหญ่หลวงสำหรับบางคน เช่น อาร์เจนตินาไม่สามารถตกลงเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้กับผู้ให้สินเชื่อรายใหญ่อีกต่อไป จึงเป็นประเทศแรกที่ต้องล้มละลาย
ในอีกทางหนึ่ง จีนซึ่งมีความได้เปรียบชั่วคราว เพราะเป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดอย่างเกือบสมบูรณ์ รัฐบาลจีนกำลังกระตุ้นภาคธุรกิจเพื่อสนับสนุนตลาดแรงงาน แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนเน้นย้ำว่าการส่งออกมีขนาดลดลง เพราะหลายประเทศมีการสั่งซื้อน้อยลง
ผลที่ตามมาที่สามารถเกิดขึ้นได้ในหลากหลายทิศทางเป็นสัญญาณเตือนที่น่ากังวล ไม่มีใครมั่นใจได้ว่าโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลจะช่วยให้เอาชนะภาวะวิกฤตินี้ได้อย่างสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ทำสถิติสูงกว่า $6 ล้านล้านเหรียญนั้นเป็นเรื่องน่าช็อค แพ็คเกจกระตุ้นเป็นเงิน $2 ล้านล้านจะมอบให้กับประชาชนทุกคนในประเทศโดยตรง และอีก $4 ล้านล้านจะมาในรูปแบบสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจ ด้วยมาตรการที่ฉับพลันเช่นนี้ ดอลลาร์สหรัฐจึงไม่ผันผวนมากนักและกำลังทำหน้าที่เป็นสกุลเงินหลบภัย
รัฐบาลญี่ปุ่นก็กำลังหารือเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือครั้งสำคัญเช่นกัน แพ็คเกจเงินอุดหนุนมูลค่า $1.1 ล้านล้านจะใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนประชาชนและกิจการต่าง ๆ นายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ เชื่อว่าการดำเนินการเหล่านี้จะช่วยให้ GDP เติบโตขึ้นมากกว่า 3%
รัฐบาลอียูกำลังเดินตามเส้นทางเดียวกัน อียูตั้งใจจะฉีดอัดเงินครึ่งล้านล้านยูโรเข้าสู่เศรษฐกิจอียู นอกจากนี้ ยังมีการถกเถียงอย่างดุเดือดในหมู่ผู้นำประเทศยูโรโซนเกี่ยวกับการออก “พันธบัตรโคโรนา” พันธบัตรยูโรเหล่านี้สามารถช่วยให้ประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดในยุโรปฟื้นตัวได้
นักเทรดควรจับตาดูอะไรบ้าง
ประเทศกำลังพัฒนายังเอื้อเฟื้อน้อยกว่าในการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยทั่วไปประเทศเหล่านี้อ่อนไหวต่อวิกฤติมากกว่าอันเนื่องมาจากระบบที่ไร้ประสิทธิภาพและขาดการกระจายความเสี่ยงในภาคเศรษฐกิจ ภูมิภาคเหล่านี้ต้องพึ่งพาการค้าโลกสูง แต่พวกเขาสามารถแสดงอัตราการเติบโตที่สูง
หากคุณต้องการจะทำเงินจากคลื่นการเติบโตในอนาคตอย่างจริงจัง คุณควรให้ความสนใจกับประเทศกำลังพัฒนาอย่างบราซิล คุณสามารถทำการลงทุนระยะยาวใน ETF MSCI Brazil 3x พอร์ตนี้รวบรวมหลายบริษัทชั้นนำของประเทศบราซิล
นอกจากนี้ คุณยังสามารถเลือกมองหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่สหรัฐฯ ที่มีลักษณะเป็นบริษัทที่ผูกขาด เช่น Facebook และ Google ทั้งสองบริษัทนี้มีแพล็ตฟอร์มการโฆษณาขนาดใหญ่ และบริษัทเหล่านี้ไม่กลัวที่จะลงทุนเพื่อพัฒนาแม้ในช่วงเวลาวิกฤติ
Google ผลิตสมาร์ทโฟนและพัฒนาเทคโนโลยีเว็บไซต์ Facebook พยายามผลักดันบทบาทการเป็นเครื่องมือการชำระเงิน และหวังว่าที่จะเดินตามรอยความสำเร็จของบริการ WeChat ของจีน ต่างจากรัฐบาลต่าง ๆ บริษัทไอทีเหล่านี้ตระหนักถึงความต้องการของตลาดและเดินนำหนึ่งก้าวเสมอ บ่อยครั้งที่รูปแบบเช่นนี้จะนำกำไรมาให้กับนักลงทุน
บิทคอยน์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยสำหรับนักลงทุน
ในไตรมาสแรกของปี 2020 บิทคอยน์ประสบกับภาวะทั้งขาขึ้นถึง $10,000 และขาลงที่ $4,000 สื่อต่าง ๆ รายงานว่า บิทคอยน์กำลังเดินตามการเคลื่อนที่ของตลาดหุ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกทรุดต่ำลง คริปโตเคอเรนซีแสดงออกซึ่งคุณสมบัติที่ไม่สัมพันธ์กัน เงินคริปโตมองหาเสถียรภาพ ซึ่งยืนยันได้จากการที่ราคากลับสู่ระดับ $7,000 ระดับที่เหรียญมีการเทรดมาตั้งแต่ต้นปี
อีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นสัญญาณเตือนที่ดีคือปริมาณการซื้อขายบิทคอยน์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดแลกเปลี่ยน ในทุก ๆ วันมีการซื้อขายบิทคอยน์คิดเป็นมูลค่าประมาณ $3 หมื่นล้านเหรียญ ในขณะที่ในไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ประมาณ $2 หมื่นล้านเหรียญ กล่าวคือตลาดมีความต้องการที่เติบโตขึ้น
เราไม่ได้บอกว่าราคาจะขึ้นหรือไม่ แต่ราคาที่คงที่จะนำไปสู่เทรนด์เสมอ หน้าที่ของเราคือการเลือกทิศทางที่ถูกต้อง และหากเราพิจารณาปัจจัยที่บิทคอยน์ไม่ถูกควบคุมโดยประเทศใด ๆ ไม่ขึ้นอยู่กับระดับเงินเฟ้อและมีการออกเหรียญที่จำกัดแล้ว บิทคอยน์จึงมีทุกความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นสินทรัพย์หลบภัยหลักสำหรับนักลงทุน
ไม่ว่าวิกฤตินี้จะมีจุดจบอย่างไร โปรดจำไว้ว่า ปัจจัยที่กล่าวถึงในบทความฉบับนี้คือกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ตลาดจะฟื้นตัว หลายอย่างจะกลับสู่สภาวะปกติสำหรับมวลมนุษย์ แต่กว่าจะถึงตอนนั้นเราจะได้เห็นตลาดหุ้นผันผวน เทรนด์กระทิงครั้งใหญ่ ตลาดติดลบ และภาวะล้มละลาย นี่คือสิ่งที่เราจะต้องรับมือและเราจะทำเงินจากโอกาสเหล่านี้