ผลการประชุมสุดยอดผู้นำ G7 จะมีข้อสรุปในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ สหรัฐฯ และยูโรโซนจะประกาศดัชนีผู้บริโภคที่สำคัญ สหรัฐฯ และเยอรมนีจะประกาศรายงาน GDP รายไตรมาส ความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ทวีความรุนแรง และรัฐบาลไทยจะพยายามหาผลประโยชน์จากการขาดเสถียรภาพในโลก
26 สิงหาคม การบริโภคของสหรัฐฯ และผลการประชุม G7
ณ เวลา 19:30 นาฬิกา ตามเวลาไทย สหรัฐฯ จะประกาศข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐานประจำเดือนกรกฎาคม รายงานฉบับปีที่แล้วทำให้นักลงทุนประหลาดใจด้วยผลดัชนีที่เพิ่มขึ้น 1.2% แทนที่ตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 0.2% ส่วนในครั้งนี้ ผลลัพธ์ไม่น่าจะเป็นเหมือนครั้งก่อนแต่อาจมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 0.2%
ตลาดจะตอบสนองต่อผลการประชุมสุดยอดผู้นำ G7 ซึ่งจัดขึ้นในฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 24-26 สิงหาคม ผู้นำโลกต่างได้หารือเกี่ยวกับการค้าโลก สถานการณ์ที่รุนแรงขึ้นในประเทศอิหร่าน ประเด็นเบร็กซิต การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ และประเด็นอื่นๆ
27 สิงหาคม GDP ของเยอรมนี
เยอรมนีจะประกาศรายงานฉบับสุดท้ายว่าด้วย GDP ของประเทศในไตรมาสที่ 2 ณ เวลา 13:00 นาฬิกา ตามเวลาไทย เราขอเรียนให้ทราบอีกครั้งว่าในรายงานเบื้องต้นระบุถึงภาวะถดถอยและตัวเลข GDP ที่ลดลง 0.1% หากผลลัพธ์สุดท้ายเป็นลบเช่นกัน ค่าเงินยูโรอาจตกอยู่ภายใต้แรงกดดันสำหรับนักเทรด
28 สิงหาคม โตเกียว vs. โซล
การตัดสินใจของญี่ปุ่นที่จะตัดประเทศเกาหลีใต้ออกจากรายชื่อหุ้นส่วนการค้าที่ไว้วางใจจะมีผลบังคับใช้ ตามที่เคยรายงานไว้ก่อนหน้า เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ญี่ปุ่นได้ยุติการจัดส่งสินค้าทางเคมีบางชนิดซึ่งอาจถูกขนส่งอย่างผิดกฎหมายไปยังเกาหลีเหนือ
29 สิงหาคม GDP สหรัฐฯ และกรม “สงครามแห่งดวงดาว”
สหรัฐฯ จะประกาศรายงาน GDP ฉบับสุดท้ายในไตรมาสที่ 2 ณ เวลา 19:30 นาฬิกา ตามเวลาไทย รายงานเบื้องต้นให้ผลลัพธ์ที่เพิ่มขึ้น 2.1% ในขณะที่ตัวเลขคาดการณ์อยู่ที่ 1.8% ผลลัพธ์สุดท้ายนี้อาจปรากฏใกล้เคียงกับตัวเลขคาดการณ์ปัจจุบันที่ 2.0%
สถานการณ์ชี้ให้เห็นว่าการโจมตีของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ต่อธนาคารเฟดนำไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของตลาดที่เพิ่มขึ้นว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อไป
กรมบัญชาการอวกาศของสหรัฐฯ จะเริ่มปฏิบัติการในวันที่ 29 สิงหาคมนี้ หน่วยงานนี้จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติการทางอวกาศ การกำกับและตรวจตราการยิงขีปนาวุธและดาวเทียม
30 สิงหาคม การบริโภคของอียู และประเทศไทยดึงดูดนักลงทุน
ยูโรโซนจะประกาศดัชนีราคาผู้บริโภค ณ เวลา 16:30 นาฬิกา ตามเวลาไทย ดัชนีของเดือนกรกฎาคมพบว่าเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 1% อย่างไรก็ตาม แม้แต่ผลลัพธ์นี้ก็เป็นเป้าหมายที่บรรลุได้ยาก จึงเป็นเหตุผลให้นายมาดีส มุลเลอร์ ประธานธนาคารกลางเอสโตเนีย ล่าสุดออกมาประกาศถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยุโรป จากสถานการณ์ดังกล่าวผลลัพธ์จึงอาจปรากฏออกมาต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 1.1%
ในวันที่ 30 สิงหาคม รัฐบาลไทยอาจประกาศการออกชุดมาตรการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดบริษัทต่างชาติที่ต้องการหา “แหล่งลี้ภัย” ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดที่รุนแรงขึ้นในการค้าโลก
เศรษฐกิจประเทศไทยมีอัตราการเติบโตในไตรมาสที่ 2 ที่ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยตั้งใจที่จะอำนวยความสะดวกในการโอนย้ายกิจการจากภูมิภาคอื่นของโลกเข้าสู่ประเทศ
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง